รถหายในคอนโด ใคร? ต้องรับผิดชอบ
หนึ่งในปัญหาของเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นคงหนีไม่พ้นปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย . ยกตัวอย่างเช่นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรจำนวนมาก แต่กลับมีพื้นที่อยู่อาศัยอย่างจำกัดและมีราคาแพง . ส่วนที่ราคาถูกลงมาหน่อยแต่ได้พื้นที่มากขึ้นก็จะอยู่บริเวณชานเมือง ซึ่งคนที่ต้องเข้ามาทำงานในเมืองต้องใช้ระยะเวลาเดินทางหลายชั่วโมง . ดังนั้น คอนโดจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี เนื่องจากส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในทำเลที่เดินทางสะดวก ช่วยลดระยะเวลาเดินทางจากที่พักไปที่ทำงานให้น้อยลง ทำให้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะโดยการซื้ออยู่เองหรือเช่า . แต่มีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย เพราะคอนโดส่วนใหญ่มักจะมีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บางแห่งอาจเป็นหลักพัน เป็นชุมชนขนาดย่อมเลยทีเดียว จึงอาจเป็นที่หมายตาของมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาเพื่อขโมยทรัพย์สิน ซึ่งรวมถึงรถของผู้ที่พักอาศัยได้ . ทีนี้ เมื่อมีเหตุการณ์รถสูญหายเกิดขึ้น หลายคนรวมทั้งเจ้าของรถมักจะมีคำถามขึ้นมาทันทีว่า… . ใครจะต้องรับผิดชอบกับความสูญหายดังกล่าว? (แน่นอนคนขโมยไปต้องรับผิดชอบ แต่จะตามได้รึเปล่าล่ะ) . หรือจะเป็นนิติบุคคลอาคารชุด หรือบริษัทรักษาความปลอดภัยที่ได้ว่าจ้างมา? . ปัญหานี้เคยมีคดีไปถึงศาลฎีกา ซึ่งได้มีคำวินิจฉัยพอสรุปได้ดังนี้ครับ . 1. นิติบุคคลอาคารชุด ไม่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินส่วนบุคคล มีเพียงหน้าที่จัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดที่เกิดเหตุ . 2. สัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยที่นิติบุคคลได้ว่าจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัย มีข้อความระบุชัดเจนว่าเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่บรรดาทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุดเท่านั้น จึงไม่รวมไปถึงรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล . 3. การตรวจสอบสติ๊กเกอร์ที่ติดรถยนต์ การรับบัตรอนุญาตจอดรถยนต์และการตรวจสอบการขนของเข้าออกอาคาร เป็นเพียงมาตรการให้เกิดความปลอดภัยหรือความสงบเรียบร้อยในอาคารชุด . และเป็นการควบคุมผู้ใช้สอยอาคารจอดรถซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางในอาคารชุดไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ ไม่ได้มีความหมายครอบคลุมไปถึงการรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์ส่วนบุคคลของผู้ใด …